คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

วันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่16 วันที่ 6 ตุลาคม 2553




วันนี้เป็นวันสุกท้ายของการเรียน และเป็นวันสอบปลายภาค

ของวิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

1.ข้อสอบเกี่ยวกับทักษะทางวิทยาศาสตร์และยกตัวอย่างประกอบ

2.ประเมินอาจารย์หรือสะท้อนอาจารย์
สุดท้ายนี้

จากที่ได้เรียนในรายวิชานี้ ข้าพเจ้าได้รับความรู้มากมาย ได้ประสบการณ์จริง และการออกปฏิบัติงานจริง เพื่อให้ตัวของข้าพเจ้าได้ความรู้ และสามารถนำความทรงจำเหล่านี้ไปใช้ได้จริง ขอขอบพระคุรอาจารย์จิตนา มากนะค่ะ ที่ได้สอนและคอยชี้แนะแนวทางในเรื่องต่างๆ ขอบคุณค่ะ


ครั้งที่15 วันที่ 29 กันยายน 2553



ส่งข้อสอบเทคนิคการสอนทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เนื้อหาการเรียนการสอน : อาจารย์อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคนิคทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยให้นำไปปรับปรุงแก้ไขและใส่แหล่งอ้างอิง
อาจารย์สอนเพิ่มเติมในกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ประกอบด้วยเรื่อง

-การส่งเสริมและฝึกให้เด็กรู้จักการสังเกต


-สร้างความชัดเจนว่าวิทยาศสาตร์เป็นของเด็กทุกคน มิใช่เพียงบุคคลใดบุคคลหนึ่ง


-บอกวิธีที่ผู้ปกครองจะช่วยให้เด็กเรียนรู้วิทยาศสาตร์


-ปลูกฝังให้เด็กเห็นว่าวิทยาศาสตร์จะนำมาวึ่งความสนุกสนานและน่าสนใจ


-สร้างความมั่นใจในตนเองให้แก่เด็ก


-บทบาทของครูอนุบาล ในฐานะครูวิทยาศาสตร์


-การสอนวิทยาศาสตร์ครูจะต้องเตรียมสิ่งใดบ้าง

*พร้อมอ้างอิงที่มาให้เรียบร้อย

ครั้งที่14 วันที่ 22 กันยายน 2553


อาจารย์อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับบทความของบุคคลอื่นว่าเมื่อเรานำความรู้ ความคิดของใครมาเราต้องอ้างชื่อบุคคลนั้นด้วย พร้อมอ้างอิงเอกสารตำราเรื่องของบทความที่มอบหมายให้ หรือถ้าเป็นองค์ความรู้ของเราก็บอกว่าเป็นองค์ความรู้ของใคร ชื่ออะไร
- อาจารย์มอบหมายข้อสอบ เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์ให้กับนักศึกษา พร้อมกับให้อ้างอิงแหล่งที่มา

ครั้งที่13 วันพุธที่ 15 กันยายน 2553



จับกลุ่มร่วมกันระดมความคิดและนำเสนอการสรุปกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในรูปแบบ mind mapในหัวข้อเกี่ยวกับองค์ประกอบของหน่วยต่างๆ ได้แก่ หน่วยผลไม้,ผักและสัตว์ ซึ่งเราจะต้องคำนึงถึงความสมบูรณ์ขององค์ประกอบต่างๆ เพื่อที่จะสามารถต่อยอดการเรียนรู้เพิ่มต่อไปได้
และร่วมกันวางแผนให้สอดคล้องกับทักษะทั้ง 8 ทักษะ ได้แก่
1.ทักษะการสังเกต
2.ทักษะการจำแนกประเภท
3.ทักษะการวัด
4.ทักษะความสัมพันธ์มิติและเวลา
5.ทักษะการลงความคิดเห็น
6.ทักษะพยากรณ์
7.ทักษะการสื่อความหมาย
8.ทักษะการคำนวณ

วันอังคารที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่12 วันที่8 กันยายน 2553


สรุปผลการจัดกิจกรรมวันวิทยาศาสตร์

ทีละกลุ่ม ประกอบด้วย น้ำ แสง อากาศ เสียงและแบ่งกลุ่ม

ทำแผนความคิด โดยการตั้งหน่วยการเรียนรู้เอง ประกอบด้วย

1 .หน่วยผลไม้

2.หน่วยผัก

3.หน่วยร่างกาย

4. หน่วยสัตว์

ครั้งที่11 วันที่1 กันยายน 2553





จัดกิจกรรมวันวิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนสาธิตอนุบาลจันทรเกษม
ซึ่งมีเด็กอนุบาลทั้ง 3ชั้นอนุบาล และประถมชั้นปีที่1 การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ได้รับประสบการณ์มากมาย ได้รู้ว่าเด็กเข้าใจหรือเปล่า เขาสนใจที่จะร่วมกิจกรรมกับเราไหม ซึ่งได้เห็นว่า เด็กๆทุกคนสนใจที่จะเข้าร่วมกิจกรรม และมีคำถามที่เขาสนใจและอยากรู้ เราเป็นคนจัดกิจกรรม เราก็ต้องให้คำตอบเด็กเพื่อให้เขาหายสงสัย และอยากร่วมกิจกรรมกับเรา

นำเสนองานการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่องน้ำ
ซึ่งมีทั้งหมด 7 ฐานด้วยกัน
1.ฐานน้ำมาจากไหน
2.ฐานเรือโฟม
3.ฐานแครอทรอยน้ำ
4.ฐานระดับน้ำ
5.ฐานท่อรู้เข็ม
6.ฐานแรงดันของน้ำ
7.ฐานดาวลอยน้ำ

มีน้องนักศึกษาได้เข้ามาร่วมฟังด้วย และอาจารย์ได้เสนอแนะแนวการจัดกิจกรรม







ครั้งที่9 วันที่18 สิงหาคม 2553

ศึกษาดูงานที่สัตหีบ วันที่ 17-18 สิงหาคม 2553



ณ.มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ก่อนออกเดิน
ภาพกิจกรรมการกับคุณทหารเรือ

ภาพการเข้าร่วมกิจกรรมกีฬาสีทหารเรือ

ภาพการร่วมกิจกรรมที่โรงเรียนสัตหีบวันวิทยาศาสตร์


























วันเสาร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2553

ครั้งที่9 วันที่ 18 สิงหาคม 2553


ศึกษาดูงานที่จังหวัดชลบุรี (สัตหีบ)


ก่อนออกเดินทาง







ภาพ การร่วมเล่นกิจกรรมที่ค่ายทหารเรือ เป็นกิจกรรมกีฬาสี

ครั้งที่8 วันที่ 11 สิงหาคม 2553


ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันสอบกลางภาคจ้า

ครั้งที่7 วันที่ 4สิงหาคม 2553


วันไหว้ครูและบายศรีสู่ขวัญสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
เนื่องจากไม่มีก่ารเรียนการสอน เพระาได้ไปร่วมพิธีไหว้ครูของสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ซึ่งในวันนั้นเป็นการสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์ผู้สอน และรุ่นพี่รุ่นน้อง มีกิจกรรมถือพานไหว้ครูและพิธีบายศรี ตกท้ายเป็นกิจกรรมบอกความรู้สึกกับพี่และน้อง

ครั้งที่6 วันที่28 กรกฎาคม 2553


ดู VDO เรื่องน้ำมหัศจรรย์

น้ำในวิทยาศาสตร์นั้น มี 3 สถานะ ได้แก่

ของแข็ง น้ำแข็ง

ของเหลว น้ำที่ใช้กัน

ก๊าซ ไอน้ำ

ในร่างกายของมนุษย์ มีน้ำอยู่ 30-70% แต่ทางกลับกันนั้นในพืชผักผลไม้ มีถึง 90%

จากที่ดู VDO นั้นทำให้รู้ว่า มนุษย์เราขาดน้ำได้แค่ 3 วันเท่านั้น ถ้าขาดน้ำเกินสามวันจะมีร่างกายที่อ่อนเพลีย หรือเสียชีวิตได้ นอกจากนี้ยังได้รู้ถึงคุณสมบัติของน้ำอีกด้วยว่ามีอะไรบ้าง เช่น

1. การระเหย เช่น เราเทน้ำลงในจานหน้ากว้างกับจานก้นลึกให้มีปริมาณเท่ากัน แล้วนำไปตากแดด หลังจากนั้นลองสังเกต ผลที่ได้รับก็คือ น้ำในจานหน้ากว้างจะระเหยได้ดีกว่าและเร็วกว่า

2. แรงดึงผิวจาก VDO จะเป็นการทดลอง เรือโฟม โดยใช้สบู่เป็นตัวลดแรงตึงผิว

3. การลอยตัว โดยใช้ น้ำเกลือเป็นตัวกลาง เพราะคุณสมบัติของน้ำเกลือจะเข้าไปแทนที่ของน้ำทำให้วัตถุลอยตัว

วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่5การบ้านภาวะโลกร้อน



ภาวะโลกร้อน คืออะไร
ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือ ภาวะ ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็นปัญหาใหญ่ของโลกเราในปัจจุบัน สังเกตได้จาก อุณหภูมิ ของโลกที่สูงขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุหลักของปัญหานี้ มาจาก ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gases)
ปรากฏการณ์เรือนกระจก มีความสำคัญกับโลก เพราะก๊าซจำพวก คาร์บอนไดออกไซด์ หรือ มีเทน จะกักเก็บความร้อนบางส่วนไว้ในในโลก ไม่ให้สะท้อนกลับสู่บรรยากาศทั้งหมด มิฉะนั้น โลกจะกลายเป็นแบบดวงจันทร์ ที่ตอนกลางคืนหนาวจัด (และ ตอนกลางวันร้อนจัด เพราะไม่ม ีบรรยากาศ กรองพลังงาน จาก ดวงอาทิตย์) ซึ่งการทำให้โลกอุ่นขึ้นเช่นนี้ คล้ายกับหลักการของ เรือนกระจก (ที่ใช้ปลูกพืช) จึงเรียกว่า ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect)
แต่การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของ CO2 ที่ออกมาจาก โรงงานอุตสาหกรรม รถยนตร์ หรือการกระทำใดๆที่เผา เชื้อเพลิงฟอสซิล (เช่น ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือ สารประกอบไฮโดรคาร์บอน) ส่งผลให้ระดับปริมาณ CO2 ในปัจจุบันสูงเกิน 300 ppm (300 ส่วน ใน ล้านส่วน) เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 6 แสนปี
ซึ่ง คาร์บอนไดออกไซด์ ที่มากขึ้นนี้ ได้เพิ่มการกักเก็บความร้อนไว้ในโลกของเรามากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดเป็น ภาวะโลกร้อน ดังเช่นปัจจุบัน


สาเหตุ
ที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนก็เพราะว่าเหล่าก๊าซเรือนกระจกทั้งหลายที่เกิดขึ้นจากการทำกิจกรรมต่างๆของมนุษย์นั้นเพิ่มขึ้นมากอย่างรวดเร็ว รวมถึงการที่ป่าไม้ถูกตัดและทำลายลงไปอย่างมาก จึงทำให้ไม่มีตัวฟอกอากาศที่มากพอ จึงทำให้ก๊าซเรือนกระจกทั้งหลายเหล่านี้ขึ้นไปรวมตัวกันอยู่บนชั้นบรรยากาศของโลกอย่างหนาแน่น ความร้อนจากดวงอาทิตย์ที่เคยถูกสะท้อนกลับออกไปนอกโลกก็ถูกสะสมไว้ในโลกมากเกินไป และก็เป็นสาเหตุที่ทำให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้นนั่นเอง

วิธีการลดภาวะโลกร้อน
1.ไม่ใช้ถุงพลาสติกหันมาใช้ถุงผ้าแทน
2.ปิดไฟหรือถอดปลั๊กที่ไม่จำเป็นออก
3.ไม่ทิ้งขยะลงในแม่น้ำหรือตามท้องถนนควรทิ้งลงถังขยะ
4.ปลุกต้นไม้ให้เยอะๆ เพราะจะช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้
อ้างอิงจาก
ข้อมูลจาก: Greentheearth.info

วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่4 โครงการถุงผ้าศิลปะ





ปัจจุบันนี้ทัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบนโลกได้ถูกทำลายด้วยน้ำมือของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการบุกรุกทำลายป่า หรือการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากโรงงานและยานยนต์ ประกอบกับจำนวนประชากรของโลกเพิ่มขึ้น จึงทำให้นำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้เพิ่มขึ้น ทรัพยากรธรรมชาติจึงค่อย ๆหมดไป มนุษย์จึงหาสิ่งต่างๆ มาทดแทนทรัพยากรธรรมชาติหลายรูปแบบ ตัวอย่างที่เห็นได้ในชีวิตประจำวันของเรา คือ การใช้พลาสติกเป็นบรรจุภัณฑ์แทนกระดาษ ใบตอง เป็นต้น และใช้ ถุงพลาสติก กล่องพลาสติก
กล่องโฟม ในการบรรจุสิ่งของอุปโภคบริโภค ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่สามารถย่อยสลายได้รวดเร็ว เหมือนกระดาษ ใบตอง การย่อยสลายพลาสติกด้วยความร้อนทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก ก่อให้เกิดสภาวะโลกร้อน สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงด้วยเหตุนี้ข้าพเจ้านักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยชั้นปีที่ 3. จึงจัดทำโครงการแม่ลูกช่วยกันระบายสีถุงผ้าลดโลกร้อนขึ้น โดยให้ผู้ปกครองร่วมกับเด็กนักเรียนช่วยกันตกแต่งถุงผ้า เพื่อให้เด็กได้ใช้ประโยชน์ในการใส่สิ่งของมาโรงเรียน เช่น ขวดน้ำ หรือสิ่งของอื่นๆ แทนถุงพลาสติก นอกจากนี้
การทำถุงผ้ายังเป็นการช่วยลดปัญหาโลกร้อนและสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบุคคลในครอบครัวอีกด้วย
วัตถุประสงค์


1. ส่งเสริมให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของการช่วยกันลดภาวะโลกร้อน


2. เพื่อสร้างสัมพันธภาพที่ดีภายในครอบครัว


3. เด็กนักเรียนมีความภาคภูมิใจในผลงานที่ร่วมกันทำกับผู้ปกครอง


4. สามารถนำถุงผ้ามาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้


เป้าหมาย
ด้านปริมาณ


ผู้ปกครองนักเรียนชั้นอนุบาล2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
เข้าร่วมโครงการจำนวน 10 คน
ด้านคุณภาพ


ผู้ปกครองและเด็กนักเรียนชั้นอนุบาล2โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม มีความพึงพอใจและใส่ใจในการช่วยกันลดภาวะโลกร้อน โดยการที่เด็กนักเรียนถือถุงผ้าที่ประดิษฐ์มาโรงเรียนแทนถุงพลาสติก


ขั้นตอนและวิธีดำเนินการขั้นวางแผน


1. วางแผนและกำหนดหัวข้อการจัดทำโครงการ


2. เสนอหัวข้อทำโครงการต่ออาจารย์นิเทศก์


3. เขียนโครงการ


4. เสนอโครงการต่ออาจารย์นิเทศก์ ผู้บริหารโรงเรียน และครูประจำชั้นอนุบาล2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
5. ประสานงานกับโรงเรียนและจัดเตรียมสถานที่


6. กำหนดวัน เวลา และสถานที่ในการจัดทำโครงการ


ขั้นเตรียมการ


1. ติดต่อครูประจำชั้นเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ผู้ปกครองทราบ


ขั้นดำเนินการ


1. ดำเนินการตามโครงการ


ขั้นตรวจสอบ


1. การทำแบบประเมิน ผู้รับผิดชอบโครงการนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยชั้นปีที่ 3. มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม


วันและเวลาในการดำเนินโครงการ


ตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม 2553 เป็นต้นไป


สถานที่ดำเนินการห้องเรียนชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม


งบประมาณ
1. ค่าใช้จ่ายในการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ 500 บาท
2. ค่าใช้จ่ายในการทำแบบประเมิน 20 บาท
ประเมินผล
1. แบบสอบถามผู้เข้าร่วมโครงการ
2. จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ


1. นักเรียนและผู้ปกครองชั้นอนุบาล 2 /2 ตระหนักถึงความสำคัญของการช่วยกันลดภาวะโลกร้อน


2. นักเรียนชั้นอนุบาล2 มีสัมพันธภาพที่ดีภายในครอบครัว


3. เด็กนักเรียนมีความภาคภูมิใจในผลงานที่ร่วมกันทำกับผู้ปกครอง


4. นักเรียนชั้นอนุบาล2 นำถุงผ้ามาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

สรุปโครงการแม่ลูกช่วยกันลดภาวะโลกร้อน
โครงการนี้ได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองของนักเรียนชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมเป็นอย่างดี โดยมีครอบครัวที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 10 ครอบครัว และมีข้อเสนอแนะจากผู้ปกครองว่า
-เป็นกิจกรรมที่ดีมากและถุงผ้าก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้-มีการฝึกเด็กเริ่มต้นเป็นเรื่องที่ดีมาก-ได้ทำกิจกรรมแบบนี้เรื่อย ๆ ก็ดีเหมือนกัน สามารถให้เด็กฝึกทักษะในการวาดรูปและความคิดริเริ่มด้วย- ทางโรงเรียนน่าจะจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้มากกว่านี้จะได้เสริมสร้างความสัมพันธ์ให้มากกว่านี้(รวมทั้งกิจกรรมในวันสำคัญต่าง ๆ เช่น วันพ่อ วันแม่ )
-เป็นกิจกรรมที่ดีช่วยปลูกฝังให้เด็กได้ร่วมลดภาวะโลกร้อน โรงเรียนควรจะจัดกิจกรรมอย่างนี้บ่อยๆ







วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่3 นำเสนอกิจกรรมลดโลกร้อน


1.กระถางต้นไม้จากขวดพลาสติก

2.ศิลปะบนถุงผ้า

3.ตะกร้าจากกล่องนม

4.ถังขยะอัจฉริยะ

5.การลดโลกร้อน

อาจารย์ให้ทำเป็นรูปแบบโครงแล้วนำเสนอในอาทิตย์หน้า

วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่2วันที่30มิ.ย.53 ทำความรู้จักเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์


จัดกลุ่มแชร์ความรู้เกี่ยวกับการสอนวิทยาศาสตร์กับเด็กปฐมวัย

1.เมื่อเด็กมีความรู้ใหม่จะเกิดการปรับพฤติกรรมทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้เพื่อความอยู่รดต่อไป

2.ผู้ปกครองไม่ควรปิดกั้นจินตนาการของเด็ก

3.ผู้ปกครองควรส่งเสริมและกระตุ้นดดยการเข้าใจในวัยพั ฒนาการของเด็ก

4.วิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยเน้นเกี่ยวกับพัฒนาการด้านสติปัญญา การสังเกต การคิดวิเคราะห์ และนำสิ่งเหล่านี้มาแก้ไขปัญหา

5.วิทยาศาสต์เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวตั้งแต่เกิดจะเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเด็กเช่น น้ำ อากาศ พลังงาน

6.ธรรมชาติของเด็กจะชอบซักถามคำว่า "ทำไม"อยู่ตลอดเวลา ชอบทำให้ผู้ใหญ่พึงพอใจในตัวของเขาและการได้รับคำชม

อาจารย์ให้ดูVDOเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบันนั้นเกิดจากเนื้อมมือมนุษย์ทั้งสิ้น

การบ้าน

- ให้นักศึกษาหากิจกรรมเกี่ยวกับการลดโลกร้อนกลุ่มละ1กิจกรรมนำเสนออาทิตย์

วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่1วันที่23มิถุนายน2553 ร่วมกิจกรรมรับน้องมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม


ร่วมกิจกรรมรับน้องมหาวิทยาลัย เป็นวันที่สนุกมากได้ร่วมกิจกรรมกับน้องปี1สร้างความสัมพันธ์ระหว่างรุ่นน้องและรุ่นพี่ กิจกรรมที่ทำได้แก่ การแต่งหน้าน้อง บูมเอก บูมคณะ บูมมหาวิทยาลัย ร้องเพลงเต้นอย่างสนุกสนาน และพาน้องเดินเยี่ยมซุ้มต่างๆและร่วมกิจกรรมกับคณะอื่นเอกอื่น